บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มักจะเกิดโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ ได้ง่าย เนื่องจากร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ดังนั้นเราควรเตรียมพร้อมรับมือและทำความเข้าใจกับอาการเจ็บป่วยของคนวัยนี้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะอาการหูตึงที่มักจะพบได้แทบทุกคน ซึ่งคุณรู้หรือไม่ว่า หูตึงในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร จะสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ และมีวิธีการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะหูตึงได้อย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ มาให้ศึกษากันค่ะ
สารบัญ
- หูตึงในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร
- ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเกิดอาการหูตึงมากที่สุด
- หูตึงในผู้สูงอายุ รักษาหายไหม
- วิธีการดูแลผู้ที่หูตึงในผู้สูงอายุ เกิดจากช่วงอายุที่มาก
หูตึงในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร
มีหลายปัจจัยที่สามารถนำไปสู่การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุ ซึ่งหูตึงเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหูชั้นในตามอายุ การสัมผัสเสียงดังเป็นเวลานาน สภาวะทางการแพทย์บางอย่าง และพันธุกรรม โดยเมื่อเราอายุมากขึ้น เซลล์ขนเล็กๆ ในหูชั้นในที่ทำให้เราได้ยินอาจเสียหายหรือตายไป นำไปสู่การสูญเสียการได้ยินทีละน้อย นอกจากนี้ หูตึงในผู้สูงอายุ เกิดจากการได้รับเสียงดังเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เซลล์ขนเหล่านี้เสียหายได้
รวมถึงการป่วยด้วยโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด ก็อาจทำให้สูญเสียการได้ยินได้เช่นกัน โดยเมื่อเกิดภาวะหูตึงแล้วก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เพราะการสื่อสารกับคนรอบข้างจะแย่ลงไป ไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง ประสาทสัมผัสการรับรู้ช้ากว่าปกติ ซึ่งก็จะเป็นอันตรายได้หากอยู่ในที่สาธารณะ หรือขณะกำลังเดินข้ามถนน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ หลักการดูแลผู้สูงอายุ ทางด้านร่างกาย และจิตใจใครบ้างที่มีความเสี่ยงเกิดอาการหูตึงมากที่สุด
หลังจากที่เราทราบกันแล้วว่าหูตึงในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไรได้บ้าง มีสาเหตุจากอะไรบ้างแล้วนั้น และนอกจากนั้น ก็ยังมีอีกหนึ่งกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอาการหูตึงได้ ซึ่งสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการหูตึงมากที่สุด ก็ได้แก่
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการหูตึง
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงดังมากๆ
- มีประวัติคนในครอบครัวเคยสูญเสียการได้ยินมาก่อน
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง
- ผู้ที่ต้องใช้ยาบางชนิดที่มีผลกระทบต่อประสาทหูอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มคนเหล่านี้จะมีความเสี่ยงอาการหูตึงได้มากกว่าบุคคลอื่นๆ
หูตึงในผู้สูงอายุ รักษาหายไหม
เมื่อมีอาการหูตึงรักษาหายไหม ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูตึงด้วย โดยสาเหตุบางอย่างสามารถรักษาหรือจัดการได้ด้วยการรับประทานยา การผ่าตัด หรือใช้เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะทำให้ผู้มีอาการหูตึงได้ยินเสียงชัดเจนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม อาการหูตึงบางประเภท เช่น การสูญเสียการได้ยินที่เกี่ยวข้องกับอายุ อาจไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถใช้วิธีแก้หูตึงด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียม โดยเราขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโสตสัมผัสวิทยา เพื่อหาสาเหตุและทางเลือกในการรักษาโรคหูตึงในผู้สูงอายุ
การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ในผู้สูงอายุ เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุวิธีการดูแลผู้ที่หูตึงในผู้สูงอายุ เกิดจากช่วงอายุที่มาก
อาการหูตึงมักพบเจอได้ทั่วไปกับผู้สูงอายุ และถ้าหากในบ้านของคุณ มีผู้ที่มีอาการหูตึงในผู้สูงอายุ เกิดจากช่วงอายุที่มาก ควรจะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ อย่างใกล้ชิดและมีการดูแลที่ถูกวิธี ซึ่งวันนี้เราขอแนะนำ วิธีการดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการหูตึง โดยมีดังต่อไปนี้
- เปลี่ยนวิธีการสื่อสารมาเป็นการใช้สีหน้าและท่าทางประกอบ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะบางครั้งผู้ป่วยอาจจะได้ยินสิ่งที่คู่สนทนาพูดไม่ค่อยชัด แต่สามารถเข้าใจความหมายได้จากการดูท่าทางนั่นเอง นอกจากนี้อาจใช้วิธีการเขียนลงในกระดาษให้ผู้สูงอายุอ่านก็ได้เช่นกัน เพื่อการสื่อสารที่เข้าใจมากขึ้น
- อย่าให้มีเสียงดังมากเกินไปในบริเวณที่ผู้ป่วยอยู่ เพราะเสียงที่ดังมากๆ จะยิ่งทำให้ประสาทหูได้รับการกระทบกระเทือนจนส่งผลให้อาการแย่ลงกว่าเดิมได้
- จัดโภชนาการอาหารให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารกระตุ้นประสาท ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงประสาทหูได้น้อย อย่างเช่น กาแฟ น้ำอัดลม และควรงดพวกอาหารที่มีรสชาติเค็มจัดด้วย
- พาผู้สูงอายุไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยชะลออาการไม่ให้แย่ลง และยังดีต่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ห่างไกลจากโรคต่างๆ มากขึ้น
- ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาตรงตามเวลา ซึ่งผู้สูงอายุบางคนอาจจะมีอาการขี้หลงขี้ลืมด้วย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของลูกหลานแล้วล่ะ ที่จะต้องดูแลให้พวกท่าน รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
- หากผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยฟัง คุณจะต้องคอยตรวจสอบ ว่าอุปกรณ์ช่วยฟังยังคงทำงานได้ดีหรือไม่ เกิดความเสียหายหรือมีปัญหาใดๆ หรือเปล่า จะได้ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนเครื่องช่วยฟังอันใหม่นั่นเอง
- เวลาพูดกับคนที่มีอาการหูตึง จะต้องพูดด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจน และเสียงดังฟังชัด หากมีอาการหูตึงมาก อาจจะต้องเข้าไปพูดใกล้ๆ หูเลย เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ยิน
- พาผู้สูงอายุไปทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกบ้านบ้าง หรือทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวบ่อยๆ ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง เพราะจากการที่มีภาวะหูตึง ไม่ค่อยได้ยินเสียงรอบข้างอยู่แล้ว อาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวและเกิดภาวะซึมเศร้าได้
สรุป
หูตึงในผู้สูงอายุ เกิดจากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากความเสื่อมตามช่วงวัยของอายุ ทำให้ผู้สูงอายุจำนวนมาก มักจะมีอาการหูตึง โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และเบาหวาน เป็นต้น
ดังนั้นควรดูแลผู้สูงอายุให้ดี และศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เพื่อจะได้เตรียมพร้อมรับมือได้อย่างถูกวิธี ซึ่งหากใครที่ผู้ใหญ่บ้านเริ่มมีอาการหูตึง หรือมีอาการผิดปกติใดๆ ควรพาไปพบแพทย์ทันที ยิ่งตรวจพบความผิดปกติเร็ว ก็จะยิ่งรักษาได้ทันนั่นเอง