ถ้าพูดถึงโรคโควิด-19 เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็คงเคยติดเจ้าเชื้อโควิดนี้กันมาบ้างแล้ว ซึ่งอาจดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อติดก็แค่กินยารักษา และกักตัว 5-10 วัน ก็กลับใช้ชีวิตได้ตามปกติแล้ว แต่รู้หรือไม่คะว่า ถึงแม้จะผ่านระยะเชื้อตายไปแล้ว แต่สำหรับบางคนอาการป่วยกลับไม่หายไปด้วย เราเรียกอาการนั้นว่า ลองโควิด (Long Covid-19) หรือก็คือ อาการหลังโควิด ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบว่า อาการหลังติดโควิด อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์ด้วย!?
สารบัญ
- อาการหลังโควิด เสี่ยงสมองเสื่อมจริงเหรอ?
- ใครบ้างที่เสี่ยงมีอาการหลังโควิดด้านประสาทและสมอง?
- หลังติดโควิด ดูแลสมองอย่างไรไม่ให้เสื่อม
อาการหลังโควิด เสี่ยงสมองเสื่อมจริงเหรอ?
อาการลองโควิด หรืออาการหลังติดโควิด ส่วนใหญ่เรามักจะเจออาการทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้ร้ายแรงมาก แต่จะทำให้การใช้ชีวิตลำบากขึ้น เช่น ไอเรื้อรัง ภูมิแพ้ หายใจไม่อิ่ม ผมร่วง ฯลฯ อ่านถึงตรงนี้ หลายคนคงเริ่มสงสัยแล้วว่า แล้วทำไมถึงได้เสี่ยงสมองเสื่อมล่ะ เพราะโควิด-19 การติดเชื้อหรือการมีอยู่ของเชื้อในร่างกายนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมองเลยนี่นา แล้วทำไมอาการหลังติดโควิด ถึงพบภาวะสมองเสื่อม และอัลไซเมอร์?
ข้อมูลนี้มาจากการประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ประจำปี 2564 [Alzheimer’s Association International Conference AAIC 2021] ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการประชุมเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ จากการวิจัยและศึกษาพบว่า โรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์หรือส่งผลกระทบกับสมองในระยะยาว ส่งผลให้อาการหลังติดโควิด เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม และเสี่ยงเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ง่ายมากขึ้น
สอดคล้องกับงานวิจัยในนครอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่พบว่า เชื้อโควิดสามารถเข้าไปในระบบประสาทและสมองได้! ตั้งแต่ในระบบประสาทส่วนกลาง และส่วนปลาย โดยเมื่อเชื้อเข้าไปในระบบประสาท จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ให้ทำงานอย่างผิดปกติ ก่อให้เกิดอาการอักเสบขึ้นบริเวณระบบประสาทและสมอง และยังส่งผลให้เซลล์ประสาทเสื่อมหรือตายอีกด้วย ซึ่งทีมงานจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ก็ได้มีการพบว่า หากเชื้อโควิดเข้าไปในเซลล์สมอง จะกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบคล้ายกับที่พบในโรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม และพาร์กินสัน
ไม่เพียงเท่านั้น เชื้อโควิดหรือเชื้อโคโรนาไวรัส ยังอาจก่อให้เกิดการตีบ-ตันของเส้นเลือด เกิดภาวะสมองขาดเลือด และสมองขาดออกซิเจนในขณะติดเชื้อโควิดได้อีกด้วย ซึ่งแม้จะหายติดเชื้อโควิด แต่สมองที่ได้รับผลกระทบขณะติดเชื้อนั้น ยังต้องใช้เวลาฟื้นฟูต่อเนื่อง ทำให้หลังติดโควิด หลาย ๆ คนอาจพบอาการมึน ๆ เบลอ ๆ หลงลืม ปวดหัวบ่อย หรือเราเรียกอาการรวม ๆ เหล่านี้ว่า ภาวะสมองล้า (Brain Fog) พบภาวะนี้ตั้งแต่ระยะสั้นไปจนถึงระยะยาว ในบางคนอาจพบแขนขาชา-อ่อนแรง และมีปัญหาด้านการสื่อสารด้วย
อาการหลังโควิดด้านประสาทและสมอง
- บ่อยครั้งรู้สึกมึน เบลอ งง
- สมาธิไม่ดี จดจ่อไม่ค่อยได้
- ขาดความคิดสร้างสรรค์ และมีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่
- มีปัญหาด้านความจำ หลงลืมง่าย
- สับสน ตัดสินใจไม่เด็ดขาด
- ปวดหัวบ่อย ๆ ซึมเศร้าลง
- พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยเป็น
- แขนขาชา ชาตามร่างกาย หรือพบกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- พูดไม่ชัด มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร
โดยอาการหลังโควิดที่เกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง มักจะฟื้นฟูและหายเองได้ใน 6 เดือน แต่หากมากกว่านั้นต้องรีบพบแพทย์เพื่อหาแนวทางรักษา เพราะหากได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะสามารถฟื้นฟูสมองให้กลับมาปกติได้ ด้วยการหันมาเพิ่มเซลล์สมอง และดูแลให้สมองแข็งแรง ตั้งแต่การปรับพฤติกรรม หรือหาอาหารเสริมให้สมองทำงานได้ดี โดยจากการศึกษาได้พบว่า กลุ่มที่เสี่ยงมีอาการหลังโควิดเกี่ยวกับระบบประสาทและสมองมากที่สุด คือกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
กล่าวได้ว่า อาการหลังโควิด ด้านระบบประสาทและสมอง หากปล่อยไว้โดยไม่รีบรักษาจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อม หรือโรคอื่น ๆ ทางระบบสมองได้ โดยเรื่องนี้จะมีการค้นคว้าวิจัยและศึกษาต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมประชาสัมพันธ์ / โรงพยาบาลนครธน / โรงพยาบาลกรุงเทพ / ไทยรัฐออนไลน์
ใครบ้างที่เสี่ยงมี อาการหลังโควิด ด้านประสาทและสมอง?
แม้อาการหลังติดโควิด หรืออาการลองโควิด จะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่จะมีคนบางกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการหลังโควิดได้มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งอาการหลังโควิดด้านประสาทและสมองเองก็เช่นกัน จะมีกลุ่มเสี่ยงกลุ่มหนึ่งที่พบว่ามีความเสี่ยงเกิดอาการสมองล้า อัลไซเมอร์ หรือภาวะสมองเสื่อมหลังติดโควิดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป จะมีกลุ่มไหนบ้าง ลองเช็กกันดูค่ะ
กลุ่มเสี่ยงอาการหลังโควิดด้านประสาทและสมอง
- ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
- มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคความดันสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ
- มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือ BMI มากกว่า 25 ขึ้นไป
- มีโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ฯลฯ
- ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล
- ผู้ป่วยที่พบอาการรุนแรงขณะติดเชื้อโควิด-19
- มีการสันนิษฐานว่า กลุ่มที่มีอาการป่วยเป็นโรคทางสมองอยู่แล้ว เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบ-แตก-ตัน (Stroke) โรคพาร์กินสัน สมองได้รับการกระทบกระเทือน ฯลฯ อาจเป็นกลุ่มเสี่ยงด้วย (ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม)
หลังติดโควิด ดูแลสมองอย่างไรไม่ให้เสื่อม
อย่างที่เราได้ทราบไปแล้วว่า อาการหลังติดโควิด อาจเสี่ยงต่อการทำให้เกิดภาวะสมองล้า และนำไปสู่การเสื่อมและตายของเซลล์สมอง ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ตามมาได้ แม้การป้องกันอาการหลังติดโควิดหรือภาวะลองโควิดจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่หากไม่อยากเสี่ยงสมองเสื่อม ก็ควรดูแลสมองพร้อมกับดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
วิธีดูแลระบบประสาทและสมองหลังติดโควิด
- การกินเป็นเรื่องสำคัญ โดยเลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ และครบ 5 หมู่ ตามโภชนาการ
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ พยายามออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยอาทิตย์ละ 2-3 ครั้งขึ้นไป (ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที)
- ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อความต้องการร่างกาย
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ต่ำกว่า 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
- หากมีโรคประจำตัว ให้กินยาและทำตามคำแนะนำที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และต้องคอยติดตามการรักษาตามนัดอยู่เสมอ
- หากเจ็บป่วยไม่ควรซื้อยามากินเองหากไม่จำเป็น แนะนำให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและรับยาให้ตรงจุด
- หมั่นทำกิจกรรมกระตุ้นสมอง ผ่อนคลายและไม่เครียดบ่อย ๆ
- ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการลองโควิดระยะยาว
นอกจากวิธีเหล่านี้ แนะนำให้หาอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงสมองให้แข็งแรง ควบคู่ไปกับการดูแลตัวเอง อาหารเสริมบำรุงสมองจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ให้น้อยลงได้ อย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพลาสมาโลเจน จากประเทศญี่ปุ่น By ALLWELL ที่ผ่านการทดลองและวิจัยหลายสิบปีว่าสามารถช่วยบำรุงสมองได้ทั้งผู้ที่ต้องการดูแลสมอง ผู้ที่มีภาวะสมองล้า และผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย
Plasmalogen คืออะไร? ทำความรู้จักทางเลือกใหม่ ช่วยห่างไกลอัลไซเมอร์สรุป
แม้ปัจจุบันโรคโควิด-19 จะดูเป็นโรคปกติทั่วไปที่หายได้ในไม่กี่วัน แต่อย่าลืมยังมีอาการหลังติดโควิดที่ยังต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะผลกระทบต่อระบบประสาทและสมอง ทำให้เกิดภาวะสมองล้า อันนำไปสู่โรคอัลไซเมอร์ได้ อย่างไรก็ตามภาวะสมองล้า และโรคอัลไซเมอร์ไม่ได้เกิดจากโควิด-19 เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถเกิดได้จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วย ดังนั้น ควรหมั่นดูแลสมองให้แข็งแรงอยู่เสมอนะคะ